วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

How to Pronounce -ed

How to Pronounce -ed

การออกเสียง (Pronunciation)
Regular Verbs เมื่อต้องการทำเป็นรูปอดีตกาลด้วยการเติม ed จะออกเสียงแตกต่างกันได้ 3 เสียง คือ /t/ /d/ /id/
1. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงไม่ก้อง (Voiceless) f, k, p และ s จะออกเสียง ed เป็น /t/ “เทอะ” เช่น
cooked, kissed, watched, finished, stopped, laughed เป็นต้น
2. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงก้อง(Voice) b, g, v, m, n, r, l (เมื่อลองเอามือสัมผัสที่ต้นคอดูเสียงจะสั่น) จะออกเสียง ed เป็น /d/ “เดอะ” เช่น rubbed, arrived, opened เป็นต้น
3. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วย t หรือ d ออกเสียง ed เป็น /id/ “อิด/ทิด” เช่น wanted, needed, visited เป็นต้น
 


วิธีการเปลี่ยนคำกริยาให้สื่อถึงอดีตกาลนั้นมี2รูปคือ
1. กริยาที่เปลี่ยนรูปเป็นอดีตกาลได้ด้วยวิธีเติม ed ต่อท้ายโดยตรง(regular verbs) โดยมีกฎเกณฑ์การใส่ ed ดังนี้
  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e ก็เติมแค่ d ต่อท้าย
  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระ ให้เติม ed ได้เลย
  • คำกริยาที่ลงท้างด้วยy แต่หน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยนyเป็น i แล้วเติม ed เช่น carried (carry)
  • คำกริยา1พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ และหน้าพยัญชนะเป็นสละ(a,e,i,o,u) ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายอีก1ตัว แล้วเติม ed เช่น stopped, planned เป็นต้น ยกเว้น tax –> taxed, tow –> towed
  • คำกริยา2พยางค์ที่เน้นเสียง(stress)พยางค์หลัง และพยัญชนะหน้าพยางค์หลังเป็นสละ(a,e,i,o,u) ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายอีก1ตัว แล้วเติม ed เช่น refer –> referred, permit –> permitted เป็นต้น ยกเว้นคำกริยานั้นออกเสียงหนักที่พยางค์แรกให้เติม ed ได้เลย เช่น open –> opened, cover –> covered เป็นต้น
  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย c ให้เติม ked เช่น panicked เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น
  • love –> loved
  • work –> worked
  • worry –> worried
  • cry –> cried
  • play –> planned
2. คำกริยาที่เปลี่ยนรูปเป็นอดีตกาล ที่อยู่นอกเหนือกฎการเติมด้วยed (irregular verbs) ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอน (ดูเพิ่มเติม ในกริยา3ช่อง) ตัวอย่างเช่น
  • sleep –> slept
  • sit –> sat
  • run –> ran

***ไม่ว่าจะเป็นคำกริยาแบบไหนขอเพียงเราใช้ความรู้สึกถึงช่วงเวลาที่เราต้องการจะสื่อ แล้วเลือกโครงสร้างที่สื่อถึงช่วงเวลานั้นใส่เข้าไป(ไม่ใช่เพียงท่องจำเพียงอย่างเดียว) เราก็จะสามารถสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติและอย่างเข้าใจ เช่น หากพูดกริยาวิ่ง ถ้าเราต้องการสื่อถึงการวิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ให้รู้สึกถึง ran เลย แทนการนึกถึง run แล้วก็มาเปลี่ยนเป็น ran เราก็จะสมารถใช้คำกริยาให้เหมาะกับกาลได้อย่างเข้าใจและไม่ผิด

       อ้างอิง : http://www.pasaangkit.com/regular-verbs/

     
                                      ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=hsfhCa0YidM

Adverbs of Frequency

Adverbs of Frequency


Frequency adverb (ฟริเคว็นซิ แอ็ดเวิบ) เป็นกริยาวิเศษณ์ประเภทหนึ่ง ใช้บ่งบอกความถี่ (frequency) ของเหตุการณ์หรือการกระทำ ฉะนั้น Frequency adverbs จึงเป็นคำตอบของคำถาม “How often?” หรือ “How frequently?” นั่นเอง
ตัวอย่าง
We usually go shopping on Saturday.
ปกติพวกเราไปจับจ่ายวันเสาร์
Question: How often do you go shopping on Saturday?
พวกคุณไปจับจ่ายในวันเสาร์บ่อยครั้งเท่าไร
Answer :     We usually go shopping on Saturday.
ปกติพวกเรา ไปจับจ่ายวันเสาร์
Sakda is always late.
ศักดามาสายเสมอ
Question :     How frequently is Sakda late?
ศักดามาสายบ่อยครั้งเท่าไร
Answer :         He is always late.
เขามาสายเสมอ
Frequency adverbs ที่พบและพบบ่อยมาก แบ่งตามระดับเปอร์เซ็นต์มากน้อยของความถี่มีดังนี้
100%             Always
95%                Almost Always
70%                Usually
Normally
Frequently
Often
50%                Sometimes
Occasionally
20%                Seldom
Rarely
5%                   Almost never, Hardly ever
0%                  Never
ตำแหน่งของ Frequency adverbs
1. ในประโยคบอกเล่า (affirmative sentences)
1.1 วางไว้หลัง verb to be เมื่อภายในประโยคบอกเล่านั้นมีคำกริยา คือ verbs to be ดังโครงสร้าง
to be + frequency adverb
ตัวอย่าง
He is always late for work.
เขามาทำงานสายเสมอ
Nicole is usually very busy.
ปกตินิโคลมีงานยุ่งมาก
Karen is often tired.
คาเรนเหนื่อยบ่อย
1.2 หากมีกริยาช่วย และกริยาแท้ เราจะวาง frequency adverb ไว้หลังกริยาช่วยคำแรก หรือหากมีกริยาช่วยและกริยาแท้ ก็ให้วาง frequency adverb ไว้กึ่งกลางระหว่างกริยาทั้งสองประเภท ดังโครงสร้าง
auxiliary + frequency adverb + finite verb
หรือ
auxiliary 1 + frequency adverb + auxiliary2 + finite verb
ตัวอย่าง
I have never been to England.
ผมไม่เคยไปประเทศอังกฤษ
He would always have been late.
เขามักจะมาสายเสมอ
1.3 วาง frequency adverb ไว้หน้ากริยาแท้ หรือกริยาหลัก หากไม่มี กริยาอื่นใดอยู่ด้วย ดังโครงสร้าง
frequency adverb + finite/main verb
ตัวอย่าง
I usually jog for about half an hour.
ผมมักจะวิ่งเหยาะๆ เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง
You never tried hard enough.
คุณไม่เคยพยายามมากพอ
1.4 วาง frequency adverbs ต่อไปนี้ ได้แก่ occasionally, sometimes, often, frequently, usually ไว้ตอนเริ่มต้น (beginning) หรือตอนท้าย (end) ของประโยค
ตัวอย่าง
Sometimes they come and stay with us.
บางครั้งพวกเขาก็มาอยู่กับเรา
I play tennis occasionally.
ผมเล่นเทนนิสในบางโอกาส
We eat outside frequently.
พวกเรารับประทานอาหารนอกบ้านกันบ่อย
2. ในประโยคคำถาม (questions)
เราจะวาง frequency adverb ไว้หลังประธานของประโยค ดังโครงสร้าง subject + frequency adverb
ตัวอย่าง
Is he always late for work?
เขามาทำงานสายเสมอหรือ
Do you occasionally play tennis?
คุณเล่นเทนนิสในบางครั้งใช่ไหม
3. ในประโยคปฏิเสธ (negative sentences)
3.1 frequency adverbs ที่มักวางไว้หลัง not ได้แก่ always, normally, often, usually, generally, regularly ดังโครงสร้าง
not + frequency adverb
ตัวอย่าง
Public transport isn’t always reliable.
การขนส่ง ของรัฐไม่สามารถวางใจได้เสมอ
He isn’t often late when he works here.
เขาไม่ค่อยจะมาสายบ่อยเมื่อเขาทำงานที่นี่
3.2 frequency adverbs ที่สามารถวางไว้หลัง subject เพื่อเป็นการเน้นย้ำเป็นพิเศษ ได้แก่ normally, often, usually, generally ดังโครงสร้าง
Subject + frequency adverb
ตัวอย่าง
We usually don’t worry if the children are late.
ปกติเราไม่วิตกถ้าหากเด็กๆ มาสาย
I often don’t like night life.
ผมมักไม่ชอบใช้ชีวิตเที่ยวยามราตรี
หมายถึง frequency adverbs ที่ให้ความหมายเชิงปฏิเสธอยู่แล้ว ได้แก่ seldom, rarely, almost never, hardly ever, never เมื่อใช้คำประเภทนี้ ในประโยค ประโยคนั้นจะมี not อีกไม่ได้
ตัวอย่าง
X We don’t rarely see them.
/ We rarely see them.
พวกเราแทบจะไม่เคยเห็นพวกเขา
X He doesn’t hardly ever write.
/ He hardly ever writes.
เขาแทบจะไม่เคยเขียนจดหมาย
X That boy doesn’t seldom attend class.
/ That boy seldom attends class.
เด็กชายคนนั้นแทบไม่เคยเข้าชั้นเรียน
X He doesn’t never donate money to the company.
/ He never donates money to the company.
เขาไม่เคยบริจาคเงินให้บริษัท

อ้างอิงhttp://www.engisfun.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89-frequency-adverbs/

Stative Verbs

Stative Verbs

คำกริยาแสดงสภาวะ (Stative Verbs)
 โดย รศ.ดร.อำไพ เกียรติชัย  ภาควิชาหลักสูตรและการสอน  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
         คำกริยาเป็น Part of speech หนึ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นส่วนที่จะสื่อสารข้อมูลซึ่งแสดงใจความสำคัญของประโยค ความเข้าใจที่ถูกต้องและครอบคลุมเกี่ยวกับคำกริยาจึงจำเป็นสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษ  เมื่อนึกถึงคำกริยา คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการกระทำบางอย่างที่ต้องมีการเคลื่อนไหว แสดงให้เห็นอาการบางอย่างของคน หรือ สัตว์ หากให้ผู้เรียนยกตัวอย่างคำกริยา คำตอบที่ได้มักจะได้แก่คำกริยาต่างๆซึ่งแสดงการเคลื่อนไหว หรือการกระทำในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา เช่น eat  walk  run  speak  sing  write เป็นต้น คำกริยาลักษณะนี้เรียกว่าคำกริยาแสดงอาการ (action หรือ dynamic verbs) ซึ่งเป็นคำกริยาส่วนใหญ่ในภาษาอังกฤษ แต่คำกริยาไม่จำเป็นต้องแสดงการเคลื่อนไหวหรืออาการที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเสมอไป และคำกริยาไม่จำเป็นต้องใช้กับสิ่งมีชีวิตเสมอไป คำกริยาที่ดำเนินอยู่ แต่มองไม่เห็น และยังสามารถใช้กับประธานที่เป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของได้นี้คือคำกริยาแสดงสภาวะ หรือ stative verbs เป็นคำกริยาที่บรรยายให้เห็นสภาวะ (state) ไม่ใช่การกระทำ  บางท่านอาจเรียกว่า abstract verbs เนื่องจากเป็นกริยาที่ไม่สามารถจัยต้องได้ นอกจากนี้คำกริยากลุ่มนี้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Nonprogressive verbs เนื่องจากเราไม่สามารถใช้คำกริยาแสดงสภาวะนี้ในรูปของ –ing ได้

ประเภทของคำกริยาแสดงสภาวะ 
          คำกริยาแสดงสภาวะแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท หรือ 6 กลุ่ม ตามความหมายของมัน ดังนี้

  1. คำกริยาที่แสดงประสาทสัมผัสและการรับรู้ (Verbs of the senses and perception)
                  เป็นคำกริยาที่แสดงถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้สิ่งรอบตัวนั่นเอง ได้แก่คำต่อไปนี้
                         Feel              see               sound
                        Hear             smell             taste
 เช่น
              Did you hear the explosion?              คุณได้ยินเสียงระเบิดใหม
        The coffee smells so good.            กาแฟกลิ่นหอมจัง
      The soup tastes delicious.           ซุปอร่อย
              I see someone coming.                      ฉันเห็นใครบางคนกำลังมา
               She felt  so sad.                               เธอรู้สึกเศร้าเหลือเกิน
             The music sounds wonderful.              ดนตรีเพราะ

คำขยาย stative verbs ในกลุ่มนี้ ต้องใช้ adjectives เท่านั้น ไม่สามารถใช้ adverbs เหมือนคำกริยาโดยทั่วๆไปได้ ซึ่งการขยายคำกริยากลุ่มนี้ด้วย adverbs เป็นข้อผิดพลาดที่พบเห็นเป็นประจำ

  1. 2.      คำกริยาที่แสดงสภาวะทางความคิด (Verbs of Mental State)
     เป็นคำกริยาที่แสดงถึงการทำงานของสมอง ระบบความจำ และระบบความคิด ซึ่งการ ทำงานเหล่านี้เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ หรือมีอยู่หรือไม่ ได้แก่คำต่อไปนี้
 believe          know             recognize       think
doubt            mean            remember      understand
forget            realize           suppose       

เช่น
                   She believes that he loves her.
                   เธอเชื่อว่าเขารักเธอ
                    I doubt that the money will arrive in time.
                   ฉันสงสัยว่าเงินคงมาไม่ทันเวลา
                    I forgot to turn off the light.
                   ฉันลืมปิดไฟ
                    I know he hates my cat.
                   ฉันรู้ว่าเขาเกลียดแมวของฉัน
                    Does this name mean anything to you?
                   ชื่อนี้มีความหมายอะไรกับคุณบ้างใหม
                    I didn’t realize you were so unhappy.
                   ฉันนึกไม่ถึงจริงๆนะว่าเธอไม่มีความสุขมากขนาดนี้

                   She recognized him as soon as he came into the room.
                   เธอจำเขาได้ทันที่ที่เขาเข้ามาในห้อง

                   I don’t remember my first day at school.
                   ฉันจำวันแรกที่ไปโรงเรียนไม่ได้
                    I suppose he is very rich.
                   ฉันเข้าใจเอาเองว่าเขาคงรวยมาก
                    I thought I heard a scream.
                   ฉันคิดว่าฉันได้ยินเสียงกรีดร้องนะ
                    Do you understand the instructions?
                   เธอเข้าใจคำสั่งใหม

3.  คำกริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ (Verbs of Possession)
          คน หรือสัตว์สามารถเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศความเป็นเจ้าของนั้นๆให้สาธารณชนรับรู้เสมอไป แต่สภาวะความเป็นเจ้าของก็ยังคงมีอยู่ คำกริยาแสดงความเป็นเจ้าของได้แก่คำต่อไปนี้
                    belong           own              have             possess
เช่น
                   My grandfather owns this farm.
                   คุณปู่ผมเป็นเจ้าของฟาร์มนี้

                   That bone belongs to Bobby.
                   กระดูกท่อนนั้นเป็นของเจ้าบ๊อบบี้
                   I have two dogs.
                   ผมมีสุนัขสองตัว
                    This is the only suit I possess.
                   นี่เป็นสูทชุดเดียวที่ฉันมีอยู่

4.  คำกริยาแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ (Verbs of Feeling or Emotion)
     ความรู้สึกและอารมณ์อาจเกิดขึ้นแล้วหายไป แต่ความรู้สึกและอารมณ์บางอย่างอาจเกิดขึ้นแล้วและคงอยู่ต่อไปเป็นเวลานานก็ได้ ดังนั้นความรู้สึกและอารมณ์จึงมีลักษณะเป็นสภาวะที่เก็บอยู่ในใจคนโดยที่ผู้อื่นอาจไม่รับรู้ก็เป็นได้ คำกริยาที่แสดงความรู้สึกและอารมณ์ได้แก่คำกริยาต่อไปนี้
               adore            fear              love              prefer              astonish         hate 
             mind             surprise          enjoy            like               please           wish              envy
เช่น
                   Wilbur adores charlotte.
                   วิลเบอร์ชื่นชมชาร์ลอตต์
              The news  astonished us.
ข่าวนี้ทำให้เราประหลาดใจ

                   We enjoyed our holidays so much.
                   เราสนุกสนานกับวันหยุดของเราอย่างมาก
  He envied her because she seemed to have everything she could                 possibly want.
                   เราอิจฉาเธอเพราะเธอดูจะมีทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอต้องการ

                   All his employees fear him.
                   ลูกน้องทุกคนกลัวเขา

                   Jane hates snakes.
                   เจนเกลียดงู

                   I like them.
                   ฉันชอบพวกเขา

                   Pat loves Caesar salad.
                   แพทชอบสลัดซีซาร์มาก
                  
                   I don’t mind the walking.
                   ฉันไม่รังเกียจการเดิน

                   You can’t please everybody.
                   เธอคงไม่สามารถทำให้ทุกคนถูกใจได้หรอก

                   Mom prefers jazz to rock music.
                   แม่ชอบดนตรีแจ๊สมากกว่าดนตรีร๊อค

                   Their marriage surprises me.
                   การแต่งงานของพวกเขาทำให้ฉันประหลาดใจ

                   I wish I were more beautiful.
                   ฉันอยากจะสวยกว่านี้

          5.  คำกริยาแสดงการวัดหรือประมาณค่า (Verbs of Measurement)
               หลายๆคนอาจสงสัยว่าเพราะเหตุใดจึงจัดคำกริยาแสดงการวัดหรือประมาณอยู่ในกลุ่มของคำกริยาที่แสดงสภาวะ เพราะการวัดปริมาณน่าจะต้องมีการใช้เครื่องมือบางอย่างมาทำการวัด และคงมีกริยาท่าทางบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่ามีการวัด แต่ขอให้พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
                   Sally picked up a bag of sugar.  She read the label and said,”Only 500 grams.  One bag might not be enough.”
                   แซลลี่หยิบน้ำตาลขึ้นมาหนึ่งถุง เธออ่านฉลากแล้วพูดว่า “แค่ 500 กรัมเท่านั้น ถุงเดียวเห็นจะไม่พอ”
จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่าแซลลี่ไม่ได้นำตาชั่งมาชั่งถุงน้ำตาลเลย เพียงแค่อ่านจากฉลากเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีกริยาที่แสดงการชั่ง ตวง วัดให้เราเห็นเลย กริยาในกลุ่มนี้ได้แก่คำต่อไปนี้
                   contain equal            weigh                   cost                        measure       
เช่น
                   The ring is nice, but it costs too much.
                   แหวนวงนี้สวยดี แต่มันแพงไปหน่อย

                   The whole package contains four books.
                   ทั้งห่อมีหนังสือ 4 เล่ม

                   Two plus two equals four.
                   สองบวกสองเท่ากับสี่

                   This device measures the amount of radiation in the air.
                   เครื่องมือนี้วัดปริมาณรังสีในอากาศ

                   It seems this sack of rice weighs more than that one.
                   ข้าวถุงนี้ดูเหมือนจะหนักกว่าถุงนั้น                
6.  คำกริยาแสดงสภาวะอื่นๆ (Verbs that express states)
                   นอกเหนือจากกลุ่มคำแสดงสภาวะทั้ง 5 กลุ่มที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีคำแสดงสภาวะอื่นๆอีก ดังนี้
                   be                owe              seem                   exist             require
เช่น
                   The town is three miles away.
                   ตัวเมืองอยู่ห่างออกไป 3 ไมล์
                  The problem exists only in your mind.
                   ปัญหามันอยู่แค่ในความคิดของคุณเท่านั้น
                    (ในความเป็นจริง ไม่ได้มีปัญหาอะไรเลย)
                  You seem sad today.  วันนี้เธอดูเศร้าๆนะ
                   She still owes her father baht 2,000.
                   เธอยังเป็นหนี้คุณพ่อเธออยู่สองพันบาท
                   These pets require a lot of care and attention.
                   สัตว์เลี้ยงพวกนี้ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างมาก
การใช้คำกริยาแสดงสภาวะ
            ใช้คำกริยาแสดงสภาวะในกรณีต่อไปนี้
  1. เมื่อต้องการแสดงให้เห็นสภาวะใดสภาวะหนึ่ง โดยสิ่งๆนั้นจะยังคงสภาพนั้นต่อๆไปโดยไม่เปลี่ยนแปลง อย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น
              The theatre is small.              โรงละครเล็ก
         She has a cat. เธอมีแมวหนึ่งตัว
               We own a factory.              เราเป็นเจ้าของโรงงานหนึ่งโรง
ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้คำกริยาแสดงสภาวะในรูปของ progressive ได้
              We have two cars.  (ใช้ได้)
              We are having two cars. (ใช้ไม่ได้)
  1. มี stative verbs อยู่จำนวนหนึ่งที่มีทั้งความหมายที่แสดงสภาวะ (stative meaning) และความหมายที่แสดงอาการ (active meaning) เวลาใช้จึงควรระวัง เพราะถ้าใช้ในความหมายที่แสดงสภาวะ จะเป็น progressive ไม่ได้ แต่ถ้าใช้ในความหมายที่แสดงอาการ จะเป็น progressive ได้ ผู้เรียนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงนี้มักจะจำเป็นกฎตายตัวว่าห้ามเปลี่ยนรูป stative verb เป็น progressive form ซึ่งกฎข้อนี้ใช้ไม่ได้กับ verb กลุ่มนี้ เช่น             
Julie appears happy. (stative)              จูลี่ดูมีความสุข
               Julie is appearing in a new show. (active)              จูลี่จะปรากฏตัวในการแสดงชุดใหม่

              The pie smells strange.  (stative)              ขนมพายมีกลิ่นแปลกๆ
              Mom is smelling the pie.  (active)              แม่กำลังดมกลิ่นขนมพาย
             
              The steak tastes delicious.  (stative)              เสต๊ครสชาดอร่อย
              The chef is tasting the food.  (active)              พ่อครัวกำลังชิมอาหาร
             
              I think it is a good idea.  (stative)              ฉันคิด(เชื่อ)ว่ามันเป็นความคิดที่ดี
              I am thinking about the problem.  (active)              ฉันกำลังคิดตรึกตรองเกี่ยวกับปัญหาอยู่
             
  1. เมื่อใช้ verb to be + adjective ความหมายมักจะเป็นการแสดงสภาวะมากกว่าการกระทำ เช่น
               He is tall.
              The mango is sweet.
              The bacons are crispy.
อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ verb to be + adjective ใน progressive form ประโยคนั้นจะหมายถึงสิ่งซึ่งมีสภาวะชั่วคราว และ adjective ซึ่งตามหลัง verb to be จะต้องกล่าวถึงพฤติกรรมที่ประธานของประโยคสามารถควบคุมได้ เช่น
             He is polite. (แสดงลักษณะนิสัยซึ่งเป็นนิสัยแท้ๆของเขา)              เขาเป็นคนสุภาพ.
          
               He is being polite because his father is in the room. (แสดงพฤติกรรมชั่วคราว)
              เขาทำเป็นสุภาพ เพราะคุณพ่อเขาอยู่ในห้องด้วย
     จากคำอธิบายและตัวอย่างเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าแม้คำกริยาแสดงสภาวะจะเป็นคำกริยากลุ่มเล็กๆเมื่อเทียบกับคำกริยาแสดงอาการ แต่มันก็มีหลักเกณฑ์การใช้เฉพาะตัวซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์การใช้คำกริยาแสดงอาการ ดังนั้นหากผู้อ่านหมั่นสังเกตลักษณะเฉพาะนี้เมื่อฟังหรืออ่านภาษาอังกฤษ จะทำให้เกิดความแม่นยำ และจะสามารถใช้คำกริยานี้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในที่สุด
 อ้างอิง : http://siriwanpornsri.exteen.com/20110711/stative-verbs